วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แนวทางในการแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงาน

แนวทางในการแก้ไขวิกฤตด้านพลังงาน


1. ลดภาษีนํ้ามันดีเซล (Cut diesel taxes)
      เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ดีเซลกับเครื่องยนต์เบนซินนั้น เครื่องยนต์ดีเซลมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องยนต์ เบนซินถึงร้อยละ 30 ทั้งนี้ หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา(Environmental Protection Agency: EPA) คาดการณ์ว่า หากหนึ่งในสามของประชากรสหรัฐฯ ขับรถยนต์ดีเซล จะสามารถประหยัดปริมาณนํ้ามันได้ถึง 1.4 ล้าน บาเรล (Barrels) ต่อวัน ดังนั้น การนำนํ้ามันดีเซลมาใช้น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการกู้วิกฤตด้านพลังงานดังเช่นการนำรถยนต์ระบบไฮบริด (Hybrid) มาใช้  แต่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการใช้นํ้ามันดีเซลนั้นก่อให้เกิดมลพิษสูงเนื่องจากการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ (Sulfur) จากผลการวิจัย ล่าสุดของ Energy Policy Research Foundation พบว่า มีการพัฒนานํ้ามันดีเซลให้มีส่วนผสมของสารซัลเฟอร์น้อยลงกว่าในอดีต ถึงร้อยละ 97 อีกทั้งรัฐบาลกลาง (Federal) ยังเก็บภาษีนํ้ามันดีเซลสูงกว่าภาษีนํ้ามันเบนซินอีก ส่งผลให้ราคานํ้ามันดีเซลสูงกว่าราคา นํ้ามันเบนซิน และยังเป็นการลดการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับนํ้ามันดีเซลในทางอ้อมอีกด้วย
2. หยุดการเผาไหม้และการปล่อยควันจากก๊าซธรรมชาติ (natural gas)
      ในแต่ละปี ประเทศสหรัฐฯ มีการปล่อยหรือเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติมากกว่า 3 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต เนื่องมาจากกระบวนการผลิตและการกักเก็บนํ้ามัน ในอดีตที่ผ่านมา เราไม่มีเทคโนโลยีกักเก็บก๊าซธรรมชาติที่รั่วซึม (Fugitive Emissions) แต่ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันการรั่วซึมของก๊าซดังกล่าว เช่นบริษัท Hy-Bon Engineering ได้ออกแบบ Compressor หรือเครื่องอัดก๊าซที่สามารถกักเก็บก๊าซจากถังเก็บนํ้ามันดิบได้ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว ก่อให้เกิดพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับ กระบวนการกักเก็บในปัจจุบัน ทั้งนี้ การลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถคืนทุน ได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน ถือเป็นความคุ้มค่าสำหรับการลงทุนเพิ่มเติมอีกแนวทางหนึ่ง
3. พัฒนาการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าและการหักลบหน่วยการใช้ไฟฟ้า (Simplify Interconnection and Net Metering)
      อุปสรรคสำคัญด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าประการหนึ่ง คือ การแบ่งแยกสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าอย่างชัดเจน ทั้งนี้ การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าและการหักลบหน่วยการใช้ไฟฟ้า (Simplify Interconnection and Net Metering) หรือการคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากหลายๆ มลรัฐร่วมกันนั้นเป็นได้ยาก เนื่องจากมีการแบ่งแยกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน แต่ถ้าหากเราสามารถพัฒนาระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Grid) ให้สามารถรับฝากพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินซึ่งมีลักษณะคล้าย กับการฝากเงินธนาคาร ในกรณีที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าปริมาณที่ได้รับ รวมถึงสามารถถอนพลังงานไฟฟ้าเมื่อมี ความต้องการใช้เพิ่มเติม และถ้าสามารถนำเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก (มีกำลังการผลิตน้อยกว่า 10 เมกกะวัตต์) มาตั้งอยู่ในละแวกที่มีการใช้ไฟฟ้า และมีการจ่ายไฟฟ้าผ่าน grid ในระยะสั้นๆ จะช่วยในการป้องกันการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ที่มีสาเหตุจากกระบวนการขนส่งอีกด้วย
4. ขยายระบบท่อขนส่งนํ้ามันจากศูนย์กลางจ่ายนํ้ามัน (Oil Supply Hub)
     ประเทศสหรัฐฯ มีการนำเข้านํ้ามันมาจากประเทศ แคนาดา และนํ้ามันจะถูกขนส่งตามท่อนํ้ามันและกักเก็บบริเวณ ด้านฝั่งตะวันตกของอเมริกาก่อนที่จะส่งต่อไปยังโรงกลั่นนํ้ามัน ซึ่งระบบท่อขนส่งนํ้ามันเพื่อการกักเก็บกลับมีมากกว่าระบบท่อ ขนส่งเพื่อการจัดจำหน่าย ทำให้เกิดแนวคิดขยายระบบท่อขนส่ง นํ้ามันจากเมือง Alberta ประเทศแคนาดา ไปยังเมือง Cushing มลรัฐ Oklahoma เพื่อขยายปริมาณการส่งออกนํ้ามันจาก ประเทศสหรัฐฯ ไปสู่ทวีปเอเชียในปริมาณ 1 ล้านบาเรลต่อวันแต่โครงการดังกล่าวยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯ แม้จะได้รับการอนุมัติโครงการจากรัฐบาลแคนาดา รวมถึงรายงานยืนยันว่าโครงการดังกล่าวมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมแล้วก็ตาม
5. สนับสนุนเทคโนโลยีระบบ Demand Response
      การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้า ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทั่วโลกให้ความสำคัญ การพัฒนาระบบสายขนส่ง ไฟฟ้า (Grid) เพื่อให้ทุกมลรัฐในประเทศสหรัฐฯ สามารถแบ่งปันปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้อย่างทั่วถึง ปัจจุบัน นักวิจัยได้พัฒนา ระบบการเชื่อมต่อการจ่ายไฟฟ้ากับระบบการควบคุมอาคาร เพื่อให้แต่ละอาคารสามารถควบคุมและลดปริมาณการจ่ายไฟฟ้า ได้เอง เทคโนโลยี Demand Response เป็นกลไกที่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าจัดการการใช้ไฟฟ้าของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นระบบจะแจ้ง ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารู้ว่าเวลาใดที่ผู้คนในประเทศมีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูงหรือเวลานี้มีปริมาณค่าใช้ไฟฟ้าไปเป็นเงินเท่าไร ซึ่งจะ ช่วยจูงใจให้ผู้ใช้ไฟฟ้าหาทางลดการใช้ไฟฟ้าของตนเองลง ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถลดค่าไฟฟ้า และเป็นการประหยัดปริมาณการจ่ายไฟฟ้าจากโรงผลิตไฟฟ้ามายังอาคารอีกด้วย
6. ไม่นำนํ้ามันสำรองมาใช้ 
      ปัจจุบันประเทศสหรัฐฯ มีการกักเก็บนํ้ามันดิบไว้ในปริมาณ 727 ล้านบาเรลในบริเวณใต้ดินของมลรัฐ Texas และ Louisiana เพื่อเป็นการกักตุนไว้ใช้ในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนนํ้ามันและใช้เพื่อเป็นกลไกในการควบคุมการแทรงแซง ทางการค้า รวมไปถึงการเก็งกำไรจากราคานํ้ามัน แต่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐฯ กลับประสบปัญหาด้าน ราคานํ้ามัน ทำให้มีการนำปริมาณนํ้ามันสำรองดังกล่าวมาใช้ คิดเป็นปริมาณ 4.4 ล้านบาเรล ต่อวัน เพื่อช่วยพยุง ราคานํ้ามันเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ราคานํ้ามันในระยะยาวได้อยู่ดี
7. นำเทคโนโลยีความร้อนร่วมไฟฟ้ามาใช้ (Combined Heat and Power)
      ถึงแม้ว่าโรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาตินั้น มีประสิทธิภาพมากกว่าโรงงานผลิตไฟฟ้าจากการเผาไหม้ถ่านหิน โดยทั่วไป กระบวนการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาตินั้น จะอยู่ในรูปของก๊าซ ทำให้เกิดการสูญเสียของ พลังงานในรูปของความร้อน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 50 จากการสูญเสียพลังงานทั้งหมด ดังนั้น เทคโนโลยีความร้อนร่วม ไฟฟ้า (Combined Heat and Power: CHP) จึงเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำความร้อนดังกล่าวกลับมาใช้ในการให้ความร้อน ภายในตึกหรืออาคาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นกับระบบ Grid ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (Department of Energy: DOE) ต้องการจะขยายโครงการดังกล่าวให้เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2030
8. ยกเลิกนโยบายสนับสนุนที่ก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์
     ผู้มีอำนาจทางการเมืองของสหรัฐฯ มักจะให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานของประเทศสหรัฐฯ เนื่องจาก เป็นแหล่งสร้างงาน และเป็นปัจจัยสำคัญในการลดราคาสินค้าหรือต้นทุนการผลิต รวมถึงเป็นตัวช่วยในการสนับสนุนการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ดูเหมือนว่า แนวทางในการสนับสนุนบางประการกลับก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ เช่น การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทผู้ผลิตนํ้ามันคิดเป็นมูลค่ารวม 72,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ในช่วงปี 2002 – 2008) โดยแบ่งออกเป็นการสนับสนุนในการลดหย่อนภาษีถึง 15,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ประเทศสหรัฐฯ มีการสนับสนุน กลุ่มผู้ผลิตพลังงานทดแทน (Renewable fuel) คิดเป็นมูลค่า 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ที่เป็นกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากข้าวโพด
      ปัจจุบันสหรัฐฯ มีการบริโภคข้าวโพด เพื่อเป็นอาหารและแปรรูปแป็นนํ้าตาล เมื่อมีการนำข้าวโพดไปผลิตเอทานอล ยิ่งทำให้ราคาข้าวโพดปรับตัวสูงขึ้น ทำให้หลายฝ่่ายตั้งข้อสงสัยถึงความคุ้มค่าในการผลิตเอทานอลจากข้าวโพดว่ามีประโยชน์ เพียงพอหรือไม่
9. พัฒนาสายส่งไฟฟ้า (Electronic Grid) ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น
      ในปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดในกระบวนการขนส่งไฟฟ้าจาก Grid เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ประมาณร้อยละ 7 ของพลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตได้ทั้งหมด นอกจากนี้ ปัญหาการติดขัดในการส่งกระแสไฟฟ้าภายใน Grid ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานคิดเป็นมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
       ดังนั้น การพัฒนาและผลิต Superconducting Wire ซึ่งเป็นเส้นลวดนำไฟฟ้าผ่านสาย Supercooled Line (สายหล่อเย็น) นั้น ทำให้ประสิทธิภาพในการนำกระแสไฟฟ้าของ Superconducting Wire มากกว่าเส้นลวดทองแดงถึง 100 เท่า ทั้งนี้ การพัฒนาระบบการขนส่งไฟฟ้าผ่าน Superconducting Wire ให้มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศสหรัฐฯ อาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 7 – 15 ปี
10. สนับสนุนเงินทุนเพื่องานวิจัยด้านพลังงาน
       ประเทศสหรัฐฯ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในห้าจากแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า ทั้งหมด ในปีค.ศ. 1948 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ให้เงินสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ประมาณ 91,100 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ แต่ยังไม่ปรากฎผลสำเร็จอย่างเด่นชัด อีกทั้ง หลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้หลายฝ่ายเกิด ความกังวลถึงความปลอดภัยของโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ดังนั้น การสนับสนุนทุนการวิจัยเพื่อหาแหล่ง พลังงานทางเลือกอื่นๆ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่สามารถทดแทนพลังงานฟอสซิลใน ปัจจุบัน ทั้งนี้ การสนับสนุนทุนการวิจัย น่าจะเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวที่ได้ประสิทธิผลสูงสุดเพื่อเป็นการป้องกันปัญหา วิกฤตด้านพลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

1 ความคิดเห็น: