ปัญหาพลังงานของโลก
ตั้งแต่ปี 1980 ถึงปี 2004 มีความต้องพลังงานหลักเพิ่มขึ้น 54% และจะเพิ่มขึ้นด้วยสัดส่วนเดียวกันนี้ เมื่อถึงปี 2030 (จาก 469 EJ เป็น 716 EJ คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.6% ต่อปี) ความต้องการใช้ไฟฟ้า มีการเติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และคาดว่าจากปี 2004 ถึงปี 2030 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า (จาก 17,408 TWh เป็น 33,750 TWh โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.6% ต่อปี) ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงมากในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบัน ประชาชนราว 2 พันล้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และถือเป็นกลุ่มที่ต้องให้ควาสำคัญสูงเป็นลำดับต้น
สหประชาชาติประมาณว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 6.4 พันล้านคนในปี 2004 เป็น 8.1 พันล้านคน ในปี 2030 ความต้องการพลังงาน จึงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลานั้น ทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และความต้องการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต ของประชาชนใน
ประเทศกำลังพัฒนา จะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจากปี 2004 ถึง ปี 2030 จะเพิ่มขึ้น 53% หรือคิดเป็นอัตรา 1.6% ต่อปี
ปัจจุบัน มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า 16% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งโลก โดยมาจากถ่านหิน 40% น้ำมัน 10% น้ำและพลังงานอื่นอีก 19% พลังงานนิวเคลียร์เหมาะสำหรับการผลิตไฟฟ้าในสเกลใหญ่ โดยเฉพาะการใช้เป็นพลังงานพื้นฐาน (base-load) ในการผลิตไฟฟ้า
ปัญหาการใช้พลังงานในประเทศไทย
การใช้พลังงานของประเทศไทยประจำปี 2550 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานที่ใช้หมดแล้วและสามารถผลิตขึ้นมาได้อีกโดยแบ่ง ออกเป็น 15 ประเภทด้วยกันคือ แกลบ เศษไม้ ขี้เลื้อย ปาล์ม ชานอ้อย ถ่านไม้ ฟืน ซังข้าวโพด เปลือกถั่ว ไบโอดีเซล B-100 วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มันสำปะหลัง มะพร้าว ก๊าซชีวภาพ และขยะ ส่วนพลังงานเชิงพาณิชย์เป็นแหล่งพลังงานที่มีขนาดใหญ่เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน นอกจากนี้ยังรวมถึงพลังงานที่ผ่านการแปรรูปได้แก่ ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปริมาณการใช้พลังงานของประเทศไทยประจำปี 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น