วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อ้างอิง

อ้างอิง

http://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_energyandenvironment1/wiki/432c9/_7_.html     12-06-2557
http://www.ostc.thaiembdc.org/stnews_July11_5.html   12-06-2557
https://sites.google.com/site/61project1827/wikvt-phlangngan-laea-phawa-lok-rxn     13-06-2557
https://sites.google.com/site/joilzibm12/bth-thi-3-ssar-laea-phlangngan-thi-keiywkhxng-kab-chiwit-mnusy/wikvtkarn-phlangngan-laea-kar-pxngkan-kaekhi-payha-wikvtkarn-phlangngan  13-06-2557
http://wisanusimalai.blogspot.com/   13-06-2557

แนวทางในการแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงาน

แนวทางในการแก้ไขวิกฤตด้านพลังงาน


1. ลดภาษีนํ้ามันดีเซล (Cut diesel taxes)
      เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ดีเซลกับเครื่องยนต์เบนซินนั้น เครื่องยนต์ดีเซลมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องยนต์ เบนซินถึงร้อยละ 30 ทั้งนี้ หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา(Environmental Protection Agency: EPA) คาดการณ์ว่า หากหนึ่งในสามของประชากรสหรัฐฯ ขับรถยนต์ดีเซล จะสามารถประหยัดปริมาณนํ้ามันได้ถึง 1.4 ล้าน บาเรล (Barrels) ต่อวัน ดังนั้น การนำนํ้ามันดีเซลมาใช้น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการกู้วิกฤตด้านพลังงานดังเช่นการนำรถยนต์ระบบไฮบริด (Hybrid) มาใช้  แต่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการใช้นํ้ามันดีเซลนั้นก่อให้เกิดมลพิษสูงเนื่องจากการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ (Sulfur) จากผลการวิจัย ล่าสุดของ Energy Policy Research Foundation พบว่า มีการพัฒนานํ้ามันดีเซลให้มีส่วนผสมของสารซัลเฟอร์น้อยลงกว่าในอดีต ถึงร้อยละ 97 อีกทั้งรัฐบาลกลาง (Federal) ยังเก็บภาษีนํ้ามันดีเซลสูงกว่าภาษีนํ้ามันเบนซินอีก ส่งผลให้ราคานํ้ามันดีเซลสูงกว่าราคา นํ้ามันเบนซิน และยังเป็นการลดการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับนํ้ามันดีเซลในทางอ้อมอีกด้วย
2. หยุดการเผาไหม้และการปล่อยควันจากก๊าซธรรมชาติ (natural gas)
      ในแต่ละปี ประเทศสหรัฐฯ มีการปล่อยหรือเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติมากกว่า 3 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต เนื่องมาจากกระบวนการผลิตและการกักเก็บนํ้ามัน ในอดีตที่ผ่านมา เราไม่มีเทคโนโลยีกักเก็บก๊าซธรรมชาติที่รั่วซึม (Fugitive Emissions) แต่ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันการรั่วซึมของก๊าซดังกล่าว เช่นบริษัท Hy-Bon Engineering ได้ออกแบบ Compressor หรือเครื่องอัดก๊าซที่สามารถกักเก็บก๊าซจากถังเก็บนํ้ามันดิบได้ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว ก่อให้เกิดพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับ กระบวนการกักเก็บในปัจจุบัน ทั้งนี้ การลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถคืนทุน ได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน ถือเป็นความคุ้มค่าสำหรับการลงทุนเพิ่มเติมอีกแนวทางหนึ่ง
3. พัฒนาการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าและการหักลบหน่วยการใช้ไฟฟ้า (Simplify Interconnection and Net Metering)
      อุปสรรคสำคัญด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าประการหนึ่ง คือ การแบ่งแยกสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าอย่างชัดเจน ทั้งนี้ การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าและการหักลบหน่วยการใช้ไฟฟ้า (Simplify Interconnection and Net Metering) หรือการคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากหลายๆ มลรัฐร่วมกันนั้นเป็นได้ยาก เนื่องจากมีการแบ่งแยกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน แต่ถ้าหากเราสามารถพัฒนาระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Grid) ให้สามารถรับฝากพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินซึ่งมีลักษณะคล้าย กับการฝากเงินธนาคาร ในกรณีที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าปริมาณที่ได้รับ รวมถึงสามารถถอนพลังงานไฟฟ้าเมื่อมี ความต้องการใช้เพิ่มเติม และถ้าสามารถนำเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก (มีกำลังการผลิตน้อยกว่า 10 เมกกะวัตต์) มาตั้งอยู่ในละแวกที่มีการใช้ไฟฟ้า และมีการจ่ายไฟฟ้าผ่าน grid ในระยะสั้นๆ จะช่วยในการป้องกันการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ที่มีสาเหตุจากกระบวนการขนส่งอีกด้วย
4. ขยายระบบท่อขนส่งนํ้ามันจากศูนย์กลางจ่ายนํ้ามัน (Oil Supply Hub)
     ประเทศสหรัฐฯ มีการนำเข้านํ้ามันมาจากประเทศ แคนาดา และนํ้ามันจะถูกขนส่งตามท่อนํ้ามันและกักเก็บบริเวณ ด้านฝั่งตะวันตกของอเมริกาก่อนที่จะส่งต่อไปยังโรงกลั่นนํ้ามัน ซึ่งระบบท่อขนส่งนํ้ามันเพื่อการกักเก็บกลับมีมากกว่าระบบท่อ ขนส่งเพื่อการจัดจำหน่าย ทำให้เกิดแนวคิดขยายระบบท่อขนส่ง นํ้ามันจากเมือง Alberta ประเทศแคนาดา ไปยังเมือง Cushing มลรัฐ Oklahoma เพื่อขยายปริมาณการส่งออกนํ้ามันจาก ประเทศสหรัฐฯ ไปสู่ทวีปเอเชียในปริมาณ 1 ล้านบาเรลต่อวันแต่โครงการดังกล่าวยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯ แม้จะได้รับการอนุมัติโครงการจากรัฐบาลแคนาดา รวมถึงรายงานยืนยันว่าโครงการดังกล่าวมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมแล้วก็ตาม
5. สนับสนุนเทคโนโลยีระบบ Demand Response
      การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้า ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทั่วโลกให้ความสำคัญ การพัฒนาระบบสายขนส่ง ไฟฟ้า (Grid) เพื่อให้ทุกมลรัฐในประเทศสหรัฐฯ สามารถแบ่งปันปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้อย่างทั่วถึง ปัจจุบัน นักวิจัยได้พัฒนา ระบบการเชื่อมต่อการจ่ายไฟฟ้ากับระบบการควบคุมอาคาร เพื่อให้แต่ละอาคารสามารถควบคุมและลดปริมาณการจ่ายไฟฟ้า ได้เอง เทคโนโลยี Demand Response เป็นกลไกที่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าจัดการการใช้ไฟฟ้าของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นระบบจะแจ้ง ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารู้ว่าเวลาใดที่ผู้คนในประเทศมีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูงหรือเวลานี้มีปริมาณค่าใช้ไฟฟ้าไปเป็นเงินเท่าไร ซึ่งจะ ช่วยจูงใจให้ผู้ใช้ไฟฟ้าหาทางลดการใช้ไฟฟ้าของตนเองลง ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถลดค่าไฟฟ้า และเป็นการประหยัดปริมาณการจ่ายไฟฟ้าจากโรงผลิตไฟฟ้ามายังอาคารอีกด้วย
6. ไม่นำนํ้ามันสำรองมาใช้ 
      ปัจจุบันประเทศสหรัฐฯ มีการกักเก็บนํ้ามันดิบไว้ในปริมาณ 727 ล้านบาเรลในบริเวณใต้ดินของมลรัฐ Texas และ Louisiana เพื่อเป็นการกักตุนไว้ใช้ในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนนํ้ามันและใช้เพื่อเป็นกลไกในการควบคุมการแทรงแซง ทางการค้า รวมไปถึงการเก็งกำไรจากราคานํ้ามัน แต่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐฯ กลับประสบปัญหาด้าน ราคานํ้ามัน ทำให้มีการนำปริมาณนํ้ามันสำรองดังกล่าวมาใช้ คิดเป็นปริมาณ 4.4 ล้านบาเรล ต่อวัน เพื่อช่วยพยุง ราคานํ้ามันเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ราคานํ้ามันในระยะยาวได้อยู่ดี
7. นำเทคโนโลยีความร้อนร่วมไฟฟ้ามาใช้ (Combined Heat and Power)
      ถึงแม้ว่าโรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาตินั้น มีประสิทธิภาพมากกว่าโรงงานผลิตไฟฟ้าจากการเผาไหม้ถ่านหิน โดยทั่วไป กระบวนการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาตินั้น จะอยู่ในรูปของก๊าซ ทำให้เกิดการสูญเสียของ พลังงานในรูปของความร้อน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 50 จากการสูญเสียพลังงานทั้งหมด ดังนั้น เทคโนโลยีความร้อนร่วม ไฟฟ้า (Combined Heat and Power: CHP) จึงเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำความร้อนดังกล่าวกลับมาใช้ในการให้ความร้อน ภายในตึกหรืออาคาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นกับระบบ Grid ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (Department of Energy: DOE) ต้องการจะขยายโครงการดังกล่าวให้เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2030
8. ยกเลิกนโยบายสนับสนุนที่ก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์
     ผู้มีอำนาจทางการเมืองของสหรัฐฯ มักจะให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานของประเทศสหรัฐฯ เนื่องจาก เป็นแหล่งสร้างงาน และเป็นปัจจัยสำคัญในการลดราคาสินค้าหรือต้นทุนการผลิต รวมถึงเป็นตัวช่วยในการสนับสนุนการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ดูเหมือนว่า แนวทางในการสนับสนุนบางประการกลับก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ เช่น การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทผู้ผลิตนํ้ามันคิดเป็นมูลค่ารวม 72,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ในช่วงปี 2002 – 2008) โดยแบ่งออกเป็นการสนับสนุนในการลดหย่อนภาษีถึง 15,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ประเทศสหรัฐฯ มีการสนับสนุน กลุ่มผู้ผลิตพลังงานทดแทน (Renewable fuel) คิดเป็นมูลค่า 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ที่เป็นกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากข้าวโพด
      ปัจจุบันสหรัฐฯ มีการบริโภคข้าวโพด เพื่อเป็นอาหารและแปรรูปแป็นนํ้าตาล เมื่อมีการนำข้าวโพดไปผลิตเอทานอล ยิ่งทำให้ราคาข้าวโพดปรับตัวสูงขึ้น ทำให้หลายฝ่่ายตั้งข้อสงสัยถึงความคุ้มค่าในการผลิตเอทานอลจากข้าวโพดว่ามีประโยชน์ เพียงพอหรือไม่
9. พัฒนาสายส่งไฟฟ้า (Electronic Grid) ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น
      ในปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดในกระบวนการขนส่งไฟฟ้าจาก Grid เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ประมาณร้อยละ 7 ของพลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตได้ทั้งหมด นอกจากนี้ ปัญหาการติดขัดในการส่งกระแสไฟฟ้าภายใน Grid ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานคิดเป็นมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
       ดังนั้น การพัฒนาและผลิต Superconducting Wire ซึ่งเป็นเส้นลวดนำไฟฟ้าผ่านสาย Supercooled Line (สายหล่อเย็น) นั้น ทำให้ประสิทธิภาพในการนำกระแสไฟฟ้าของ Superconducting Wire มากกว่าเส้นลวดทองแดงถึง 100 เท่า ทั้งนี้ การพัฒนาระบบการขนส่งไฟฟ้าผ่าน Superconducting Wire ให้มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศสหรัฐฯ อาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 7 – 15 ปี
10. สนับสนุนเงินทุนเพื่องานวิจัยด้านพลังงาน
       ประเทศสหรัฐฯ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในห้าจากแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า ทั้งหมด ในปีค.ศ. 1948 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ให้เงินสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ประมาณ 91,100 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ แต่ยังไม่ปรากฎผลสำเร็จอย่างเด่นชัด อีกทั้ง หลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้หลายฝ่ายเกิด ความกังวลถึงความปลอดภัยของโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ดังนั้น การสนับสนุนทุนการวิจัยเพื่อหาแหล่ง พลังงานทางเลือกอื่นๆ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่สามารถทดแทนพลังงานฟอสซิลใน ปัจจุบัน ทั้งนี้ การสนับสนุนทุนการวิจัย น่าจะเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวที่ได้ประสิทธิผลสูงสุดเพื่อเป็นการป้องกันปัญหา วิกฤตด้านพลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ผลกระทบของวิกฤติการณ์พลังงาน

ผลกระทบของวิกฤติการณ์พลังงาน
                     
              ส่วนต่างๆ  ของโลกมีความพยายามแก้ไขปัญหาพลังงานเป็นสองแนวทาง   คือ   การแสวงหา   
พลังงานใหม่มาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทน้ำมัน  ก๊าซ และถ่านหิน  พลังงานที่ประเทศต่างๆ    หันมาให้ความสนใจ  คือ  พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานจากชีวมวล   ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง   คือ  การประหยัดพลังงาน  ซึ่งหมายถึง  การใช้พลังงานเท่าที่จำเป็นและการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์และกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดการใช้พลังงานลงโดยไม่ลดผลผลิต   ผลกระทบพลังงาน  ซึ่งจะยกตัวอย่างผลกระทบจากพลังงานบางชนิด  ดังนี้

 ผลกระทบจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน กรณีแม่เมาะ
                    แหล่งถ่านหินแม่เมาะ  จังหวัดลำปาง  เป็นแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  มีปริมาณสำรองประมาณ  1,490  ล้านตัน  จากปริมาณสำรองถ่านหินทั้งประเทศประมาณ  1,736  ล้านตัน  มีการค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498  ยังผลให้เกิดการพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติของประเทศไทยครั้งใหญ่สุด  โดยการลงทุนทำเหมืองขนาดใหญ่เพื่อนำถ่านหินลิกไนต์มาใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจุบันใช้สำหรับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่แม่เมาะเป็นหลัก
                  เมื่อมีการเผาไหม้ลิกไนต์เพื่อให้ได้พลังงานความร้อน  ซึ่งจะถูกนำไปผลิตไอน้ำไปขับ        เครื่องกำเนิดไฟฟ้า  ผลของการเผาไหม้จะเกิดออกไซด์ของไนโตรเจนออกไซด์  ออกไซด์ของกำมะถัน  ออกไซด์ของคาร์บอน  สารไฮโดรคาร์บอน  และฝุ่นเถ้าซึ่งปริมาณของสารมลพิษดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับปริมาณถ่านหินที่ใช้  ที่ปล่อยออกมาทางปล่องสูง  ถ้าหากไม่มีระบบควบคุมจะมีการระบายสารมลพิษประเภทฝุ่นประมาณ  8  กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์  ซัลเฟอร์ออกไซด์  1 กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์   ไนโตรเจนออกไซด์  9 กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์   ไฮโดรคาร์บอน 0.15 กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์ และ คาร์บอนมอนนอกไซด์  0.5  กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์
                            ผลกระทบจากสารมลพิษจะเกิด ทั้งจากความร้ายแรงในตัวของสารแต่ละชนิด และเกิดในลักษณะที่เป็นมลพิษเสริม ที่จะเป็นผลร้ายมากกว่าปกติ เช่นเมื่อฝุ่นพิษปรากฏพร้อมกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์  ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และระดับที่เริ่มมีผลกระทบ  คือ  หนึ่งส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร   ดังนั้นปริมาณที่สารพิษระบายออกดังที่กล่าวมาก็อยู่ในขั้นส่งผลดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นที่แม่เมาะ

                ถ่านหิน
                       ในบรรดาเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทั้งหมดถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ก่อมลพิษระหว่างการเผาไหม้มากที่สุด และยังเป็นเชื้อเพลิงที่มีอันตราย  ระหว่างการขุดเจาะนำขึ้นมาบนผิวโลกมากที่สุดอีกด้วย

                       ถ่านหินเป็นหินตะกอนชนิดหนึ่ง  ติดไฟได้จึงใช้เป็นเชื้อเพลิงปั่นไฟได้  นอกจากนี้ถ่านหินยังใช้เป็นแหล่งพลังงานในโรงงานขนาดใหญ่ๆ  เช่น  โรงงานปูนซีเมนต์  โรงงานกระดาษ  โรงงานผงชูรส  เป็นต้น  เพราะหาได้ง่ายและราคาไม่แพง แต่การเอาถ่านหินมาเผาจะได้ก๊าซพิษออกมาด้วย จึงต้องเลือกถ่านหินคุณภาพดี  (มีกำมะถันต่ำ) หรือไม่ก็ต้องมีวิธีลดสารพิษออกจากถ่านหินก่อนส่งไปเผา  หรือไม่เช่นนั้นต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องจับก๊าซพิษไว้ผลกระทบของวิกฤติการณ์พลังงาน
                       ส่วนต่างๆ  ของโลกมีความพยายามแก้ไขปัญหาพลังงานเป็นสองแนวทาง   คือ   การแสวงห พลังงานใหม่มาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทน้ำมัน  ก๊าซ และถ่านหิน  พลังงานที่ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจ  คือ  พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานจากชีวมวล   ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง   คือ  การประหยัดพลังงาน  ซึ่งหมายถึง  การใช้พลังงานเท่าที่จำเป็นและการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์และกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดการใช้พลังงานลงโดยไม่ลดผลผลิต
                       ผลกระทบพลังงาน  ซึ่งจะยกตัวอย่างผลกระทบจากพลังงานบางชนิด  ดังนี้

                4.9.1  ผลกระทบจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน กรณีแม่เมาะ
                                       แหล่งถ่านหินแม่เมาะ  จังหวัดลำปาง  เป็นแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  มีปริมาณสำรองประมาณ  1,490  ล้านตัน  จากปริมาณสำรองถ่านหินทั้งประเทศประมาณ  1,736  ล้านตัน  มีการค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498  ยังผลให้เกิดการพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติของประเทศไทยครั้งใหญ่สุด  โดยการลงทุนทำเหมืองขนาดใหญ่เพื่อนำถ่านหินลิกไนต์มาใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจุบันใช้สำหรับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่แม่เมาะเป็นหลัก
                            เมื่อมีการเผาไหม้ลิกไนต์เพื่อให้ได้พลังงานความร้อน  ซึ่งจะถูกนำไปผลิตไอน้ำไปขับ        เครื่องกำเนิดไฟฟ้า  ผลของการเผาไหม้จะเกิดออกไซด์ของไนโตรเจนออกไซด์  ออกไซด์ของกำมะถัน  ออกไซด์ของคาร์บอน  สารไฮโดรคาร์บอน  และฝุ่นเถ้าซึ่งปริมาณของสารมลพิษดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับปริมาณถ่านหินที่ใช้  ที่ปล่อยออกมาทางปล่องสูง  ถ้าหากไม่มีระบบควบคุมจะมีการระบายสารมลพิษประเภทฝุ่นประมาณ  8  กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์  ซัลเฟอร์ออกไซด์  1 กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์   ไนโตรเจนออกไซด์  9 กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์   ไฮโดรคาร์บอน 0.15 กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์ และ คาร์บอนมอนนอกไซด์  0.5  กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์
                            ผลกระทบจากสารมลพิษจะเกิด ทั้งจากความร้ายแรงในตัวของสารแต่ละชนิด และเกิดในลักษณะที่เป็นมลพิษเสริม ที่จะเป็นผลร้ายมากกว่าปกติ เช่นเมื่อฝุ่นพิษปรากฏพร้อมกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์  ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และระดับที่เริ่มมีผลกระทบ  คือ  หนึ่งส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร   ดังนั้นปริมาณที่สารพิษระบายออกดังที่กล่าวมาก็อยู่ในขั้นส่งผลดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นที่แม่เมาะ

                ถ่านหิน
                       ในบรรดาเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทั้งหมดถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ก่อมลพิษระหว่างการเผาไหม้มากที่สุด และยังเป็นเชื้อเพลิงที่มีอันตราย  ระหว่างการขุดเจาะนำขึ้นมาบนผิวโลกมากที่สุดอีกด้วย
                       ถ่านหินเป็นหินตะกอนชนิดหนึ่ง  ติดไฟได้จึงใช้เป็นเชื้อเพลิงปั่นไฟได้  นอกจากนี้ถ่านหินยังใช้เป็นแหล่งพลังงานในโรงงานขนาดใหญ่ๆ  เช่น  โรงงานปูนซีเมนต์  โรงงานกระดาษ  โรงงานผงชูรส  เป็นต้น  เพราะหาได้ง่ายและราคาไม่แพง แต่การเอาถ่านหินมาเผาจะได้ก๊าซพิษออกมาด้วย จึงต้องเลือกถ่านหินคุณภาพดี  (มีกำมะถันต่ำ) หรือไม่ก็ต้องมีวิธีลดสารพิษออกจากถ่านหินก่อนส่งไปเผา  หรือไม่เช่นนั้นต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องจับก๊าซพิษไว้ผลกระทบของวิกฤติการณ์พลังงาน
                       ส่วนต่างๆ  ของโลกมีความพยายามแก้ไขปัญหาพลังงานเป็นสองแนวทาง   คือ   การแสวงหา พลังงานใหม่มาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทน้ำมัน  ก๊าซ และถ่านหิน  พลังงานที่ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจ  คือ  พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานจากชีวมวล   ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง   คือ  การประหยัดพลังงาน  ซึ่งหมายถึง  การใช้พลังงานเท่าที่จำเป็นและการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์และกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดการใช้พลังงานลงโดยไม่ลดผลผลิต
                       ผลกระทบพลังงาน  ซึ่งจะยกตัวอย่างผลกระทบจากพลังงานบางชนิด  ดังนี้

                4.9.1  ผลกระทบจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน กรณีแม่เมาะ
                                       แหล่งถ่านหินแม่เมาะ  จังหวัดลำปาง  เป็นแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  มีปริมาณสำรองประมาณ  1,490  ล้านตัน  จากปริมาณสำรองถ่านหินทั้งประเทศประมาณ  1,736  ล้านตัน  มีการค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498  ยังผลให้เกิดการพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติของประเทศไทยครั้งใหญ่สุด  โดยการลงทุนทำเหมืองขนาดใหญ่เพื่อนำถ่านหินลิกไนต์มาใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจุบันใช้สำหรับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่แม่เมาะเป็นหลัก
                            เมื่อมีการเผาไหม้ลิกไนต์เพื่อให้ได้พลังงานความร้อน  ซึ่งจะถูกนำไปผลิตไอน้ำไปขับ  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า  ผลของการเผาไหม้จะเกิดออกไซด์ของไนโตรเจนออกไซด์  ออกไซด์ของกำมะถัน  ออกไซด์ของคาร์บอน  สารไฮโดรคาร์บอน  และฝุ่นเถ้าซึ่งปริมาณของสารมลพิษดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับปริมาณถ่านหินที่ใช้  ที่ปล่อยออกมาทางปล่องสูง  ถ้าหากไม่มีระบบควบคุมจะมีการระบายสารมลพิษประเภทฝุ่นประมาณ  8  กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์  ซัลเฟอร์ออกไซด์  1 กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์   ไนโตรเจนออกไซด์  9 กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์   ไฮโดรคาร์บอน 0.15 กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์ และ คาร์บอนมอนนอกไซด์  0.5  กิโลกรัม/ตันของลิกไนต์
                            ผลกระทบจากสารมลพิษจะเกิด ทั้งจากความร้ายแรงในตัวของสารแต่ละชนิด และเกิดในลักษณะที่เป็นมลพิษเสริม ที่จะเป็นผลร้ายมากกว่าปกติ เช่นเมื่อฝุ่นพิษปรากฏพร้อมกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์  ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และระดับที่เริ่มมีผลกระทบ  คือ  หนึ่งส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร   ดังนั้นปริมาณที่สารพิษระบายออกดังที่กล่าวมาก็อยู่ในขั้นส่งผลดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นที่แม่เมาะ

                ถ่านหิน
                       ในบรรดาเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทั้งหมดถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ก่อมลพิษระหว่างการเผาไหม้มากที่สุด และยังเป็นเชื้อเพลิงที่มีอันตราย  ระหว่างการขุดเจาะนำขึ้นมาบนผิวโลกมากที่สุดอีกด้วย
                       ถ่านหินเป็นหินตะกอนชนิดหนึ่ง  ติดไฟได้จึงใช้เป็นเชื้อเพลิงปั่นไฟได้  นอกจากนี้ถ่านหินยังใช้เป็นแหล่งพลังงานในโรงงานขนาดใหญ่ๆ  เช่น  โรงงานปูนซีเมนต์  โรงงานกระดาษ  โรงงานผงชูรส  เป็นต้น  เพราะหาได้ง่ายและราคาไม่แพง แต่การเอาถ่านหินมาเผาจะได้ก๊าซพิษออกมาด้วย จึงต้องเลือกถ่านหินคุณภาพดี  (มีกำมะถันต่ำ) หรือไม่ก็ต้องมีวิธีลดสารพิษออกจากถ่านหินก่อนส่งไปเผา  หรือไม่เช่นนั้นต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องจับก๊าซพิษไว้
ถ่านหินบ้านเราเป็นประเภทลิกไนต์ซึ่งเป็นถ่านหินชนิดที่มีคุณภาพต่ำ  การเผาลิกไนต์จะได้ความร้อนไม่มาก  จึงผลิตไฟฟ้าได้ต่ำ  อีกทั้งยังมีกำมะถันมากกว่าถ่านหินชนิดอื่น  ทำให้มีก๊าซพิษออกมามากกว่า  ซึ่งถ้าเป็นถ่านหินอย่างอื่น  เช่น  ถ่านหินแอนทราไซด์  จะได้ความร้อนสูง  ผลิตไฟฟ้าได้มากและมีก๊าซพิษต่ำ
                       ประเทศไทยไม่ค่อยมีถ่านหิน  เท่าที่มีอยู่เป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ  เราจึงต้องสั่งถ่านหินคุณภาพสูงมาจากต่างประเทศ

                      4.9.2  ผลกระทบจากการทำเหมืองถ่านหิน  ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมผิวดิน
                                   เหมืองถ่านหินที่เป็นเหมืองผิวดินมักเป็นเหมืองที่มีขนาดใหญ่  ต้องใช้พื้นที่ในการเปิดบ่อเหมืองและกองทิ้งดินผิวหน้าเป็นบริเวณกว้างขวางมาก  สภาพแวดล้อมต่างๆ  ในพื้นที่ทำเหมืองมี  การเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง  เช่น  มีการตัดไม้ทำลายป่า  เส้นทางน้ำบางสายเปลี่ยนทิศทางสภาพบ่อเหมืองภายหลังการดำเนินการจะเป็นหลุมขนาดใหญ่และลึกมาก  บริเวณที่กองทิ้งดินผิวหน้าจะมี   สภาพเป็นเนินเขาขนาดใหญ่ที่ปราศจากต้นไม้ปกคลุม การที่จะฟื้นฟูที่ดังกล่าวให้คืนสู่สภาพเดิมต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก  และระยะเวลาที่ยาวนาน

                       4.9.3  ผลกระทบด้านมลภาวะทางอากาศ
                                  หากไม่มีมาตรการหรืออุปกรณ์ป้องกันมลพิษที่ได้มาตรฐาน  ฝุ่นละอองและผงถ่านหินที่เกิดจากการทำเหมืองรวมทั้งก๊าซเสียจากแหล่งแร่  เช่น  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะกระจายในอากาศ  และถูกกระแสลมพัดพาไปได้เป็นระยะทางไกลๆ จะทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและสภาพฝนกรดในบริเวณพื้นที่ทำเหมืองและพื้นที่ใกล้เคียง

                       4.9.4  ผลกระทบของการทำเหมืองยูเรเนียม
                                   เนื่องจากในการทำเหมืองยูเรเนียมแบบเหมืองเปิดมีการเปิดหน้าดินออกเพื่อเอายูเรเนียมขึ้นมาใช้  การเปิดหน้าดินทำให้มีการพัดพาดินที่ประกอบด้วยหางแร่  (หางแร่จากเหมืองยูเรเนียมมี สารกัมมันตรังสีหลงเหลืออยู่ถึง  85%)  กระจายไปในอากาศ  และลงสู่แหล่งน้ำ  ฝุ่นดินที่ฟุ้งขึ้นไปในอากาศจะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของคนงานในเหมือง  และชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับเหมือง  จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข  ประเทศสหรัฐอเมริกา  พบว่า  จากจำนวนคนงานในเหมืองแร่ยูเรเนียม  6,000  คน  มีผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดสูงถึง  600-1,100  คน

                       4.9.5  ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้น้ำมัน 
(สำนักงานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ,ม.ป.ป.)     ไอเสียจากการเผาไหม้น้ำมันชนิดต่างๆ ในรถยนต์หรือในเตาเผาประกอบไปด้วย
     1.  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากมีมากเกินไปทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกทำให้
โลกร้อนขึ้น
     2.  ไนโตรเจนออกไซด์   ทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดและเกิดหมอกควันในที่ที่ใช้
ยานพาหนะมาก
     3.  มลภาวะทางอากาศอื่นๆ  เช่น  คาร์บอนมอนออกไซด์ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายในคนปกติ  และเป็นอันตรายในคนที่เป็นโรคหัวใจ หรือเกิดมลพิษ  เช่น   สารเบนซินซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้สารหนึ่ง
    4.  หมอกควัน จะมีมากในเวลาแดดจัดและไม่มีลม หมอกควันมีผลกระทบต่อการหายใจและทำให้ระคายตารวมทั้งเป็นอันตรายต่อพืช
    5.  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์  ทำให้เกิดฝนกรด  และเป็นอันตรายต่อการหายใจ
    6.  ผลกระทบต่อทรัพยากรอื่นๆ  กระบวนการผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดทำให้เกิดน้ำเสีย 
หรือการปล่อยสารไฮโดรคาร์บอนออกสู่บรรยากาศ

                       4.9.6  ผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการผลิตและการใช้ก๊าซธรรมชาติ
                                  ผลกระทบจากการขุดเจาะบริเวณแท่นขุดเจาะ  มีก๊าซที่ติดไฟได้ฟุ้งกระจายอยู่รอบๆแท่น ชาวประมงที่เดินเรือผ่านจะต้องระมัดระวังไม่เข้าไปใกล้บริเวณแท่นขุดเจาะในระยะรัศมี  500  เมตร
                               ผลกระทบจากการเผาไหม้  เมื่อเปรียบเทียบกับถ่านหินและน้ำมัน  การเผาไหม้
ก๊าซธรรมชาติจะก่อให้เกิดปัญหาน้อยกว่าถ่านหินและน้ำมันมาก  แต่ยังคงมีมลพิษปลดปล่อยออกมา
หลังการเผาไหม้บ้าง
                                 ผลกระทบจากการขนส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตไปยังโรงงานแยกก๊าซ หรือโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติ  อาศัยท่อเป็นหลัก  โดยมีการวางท่อก๊าซใต้ทะเลจากแหล่งผลิตที่อยู่ในทะเลมายังโรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ใกล้ชายทะเล  หรือส่งต่อทางท่อไปยังโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ  เช่น  ส่งจากโรงงานแยกก๊าซที่จังหวัดระยองไปยังจังหวัดสระบุรี  เป็นต้น  สำหรับแนวก๊าซที่ทอดผ่านพื้นดินอาจมีส่วนที่ตัดผ่านเขตแนวป่าทำให้ต้องมีการโค่นล้มต้นไม้เป็นบางส่วน  ซึ่งจะต้องมีการควบคุมดูแลให้เหมาะสม

                       4.9.7  ผลกระทบจากการใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง
                                   การเผาไหม้ของชีวมวลทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกเช่นเดียวกันกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล ในบางกรณีเชื้อเพลิงชีวมวลก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลเสียอีก (เปรียบเทียบฟืนกับก๊าซธรรมชาติ  เป็นต้น)  แต่ว่าชีวมวลนั้นมาจากพืชซึ่งระหว่างที่กำลังเติบโตก่อนนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้มีส่วนดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศเข้าไปใช้ในการสังเคราะห์แสง  ดังนั้นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งปล่อยออกมาจากชีวมวลจึงเป็นการหมุนเวียนของคาร์บอนซึ่งถูกดูดซึมไปก่อนนี้

                       4.9.8  ผลกระทบจากการใช้พลังงาน
                                  โดยปกติ  แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบโลก จะให้แสงสว่างและทำให้โลกอบอุ่น ความร้อนที่ตกกระทบบางส่วนจะสะท้อนออกไป  บางส่วนจะถูกดูดซับโดยอากาศและไอน้ำรอบๆ ผิวโลกทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า  ภาวะเรือนกระจก 
                                 การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค
                                 กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม  นอกจากจะเกิดมลภาวะทางอ้อมจากการใช้พลังงานอื่นๆ  เช่น  พลังงานไฟฟ้าในการผลิตแล้ว  ในขบวนการผลิตโดยตรงและการบริโภคต่างๆ ยัง ส่งผลให้เกิดมลพิษและขยะอีกมากมาย
                                การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล  เริ่มมีมากขึ้นนับตั้งแต่การปฏิวัติอุสาหกรรมในยุโรปในช่วงร้อยกว่าปีมานี้  และส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25

ปัญหาการใช้พลังงาน

ปัญหาพลังงานของโลก

      ตั้งแต่ปี 1980 ถึงปี 2004 มีความต้องพลังงานหลักเพิ่มขึ้น 54% และจะเพิ่มขึ้นด้วยสัดส่วนเดียวกันนี้ เมื่อถึงปี 2030 (จาก 469 EJ เป็น 716 EJ คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.6% ต่อปี) ความต้องการใช้ไฟฟ้า มีการเติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และคาดว่าจากปี 2004 ถึงปี 2030 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า (จาก 17,408 TWh เป็น 33,750 TWh โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.6% ต่อปี) ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงมากในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบัน ประชาชนราว 2 พันล้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และถือเป็นกลุ่มที่ต้องให้ควาสำคัญสูงเป็นลำดับต้น
สหประชาชาติประมาณว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 6.4 พันล้านคนในปี 2004 เป็น 8.1 พันล้านคน ในปี 2030 ความต้องการพลังงาน จึงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลานั้น ทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และความต้องการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต ของประชาชนใน
ประเทศกำลังพัฒนา จะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจากปี 2004 ถึง ปี 2030 จะเพิ่มขึ้น 53% หรือคิดเป็นอัตรา 1.6% ต่อปี
     ปัจจุบัน มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า 16% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งโลก โดยมาจากถ่านหิน 40% น้ำมัน 10% น้ำและพลังงานอื่นอีก 19% พลังงานนิวเคลียร์เหมาะสำหรับการผลิตไฟฟ้าในสเกลใหญ่ โดยเฉพาะการใช้เป็นพลังงานพื้นฐาน (base-load) ในการผลิตไฟฟ้า

ปัญหาการใช้พลังงานในประเทศไทย

การใช้พลังงานของประเทศไทยประจำปี 2550 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานที่ใช้หมดแล้วและสามารถผลิตขึ้นมาได้อีกโดยแบ่ง ออกเป็น 15 ประเภทด้วยกันคือ แกลบ เศษไม้ ขี้เลื้อย ปาล์ม ชานอ้อย ถ่านไม้ ฟืน ซังข้าวโพด เปลือกถั่ว ไบโอดีเซล B-100 วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มันสำปะหลัง มะพร้าว ก๊าซชีวภาพ และขยะ ส่วนพลังงานเชิงพาณิชย์เป็นแหล่งพลังงานที่มีขนาดใหญ่เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน นอกจากนี้ยังรวมถึงพลังงานที่ผ่านการแปรรูปได้แก่ ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปริมาณการใช้พลังงานของประเทศไทยประจำปี 2550 
          พบ ว่า มีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์มากสุดซึ่งเท่ากับ 25,402 ktoe คิดเป็น 68.90% ของการใช้พลังงานในประเทศ และมีการใช้พลังงานหมุนเวียนเท่ากับ 11,466 ktoe คิดเป็น 31.10% ของการใช้พลังงานในประเทศ สาเหตุที่มีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์มากกว่าพลังงานหมุนเวียนอาจเนื่องมาจาก เป็นพลังงานหลักที่ใช้ในภาคเศรษฐกิจ อย่างเช่น ภาคที่อยู่อาศัย ภาคการขนส่ง ภาคเกษตรกรรม ภาคธุรกิจการค้าและบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคอื่นๆ (เหมืองแร่และการก่อสร้าง) เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิกฤตการณ์พลังงาน คือ ?

วิกฤตการณ์พลังงาน ?


         
           
             หมายถึง แหล่งพลังงานธรรมชาติประเภทสร้างทดแทนใหม่ไม่ได้ เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติกำลังขาดแคลน จวนเจียนจะหมดโลก ความร่อยหรอของแหล่งพลังงานจะทำให้พลังงานยิ่งมีราคาแพงมากขึ้น ความหวาดวิตกว่าพลังงานจะหมดโลก มีราคาแพง ทำให้มนุษย์รู้สึกว่าเกิดวิกฤตพลังงานที่ต้องเร่งแก้ไขจัดการ ป้องกัน
            การผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์ จากที่เคยใช้คนละ ๒,๐๐๐ กิโลแคลอรีต่อวันในสมัยโบราณ กลายเป็น ๒๓๐,๐๐๐ กิโลแคลอรีต่อวัน(คนอเมริกัน) ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างรุนแรง อย่างชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น การใช้พื้นที่ป่าเพื่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้ทำลายระบบนิเวศของป่าไปทั่วโลก การขนส่งน้ำมันก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำจากการรั่วไหลของน้ำมัน และการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์และกากนิวเคลียร์ การเกิดควันพิษ หมอกพิษในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ฯลฯ ผลจากการใช้พลังงานมาก ทำให้โลกเกิดอาการร้อนผิดปกติที่เรียกว่าปฏิกริยาเรือนกระจก และเกิดรูโหว่ในบรรยากาศชั้นโอโซนที่ก่อผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังเพิ่มมากขึ้น ความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ ฤดูกาลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น วิกฤตการณ์พลังงานจึงพ่วงตามด้วยวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่จะต้องเร่งค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขโดยเร่งด่วน

คำนำ

คำนำ

    เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รวบรวมเกี่ยวกับวิกฤตการณ์พลังงานไว้ ทั้งที่มา สาเหตุในการเกิด และผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งที่มาของคำว่า"วิกฤตการณ์พลังาน" ได้รวบรวมเกี่ยวกับ
วิธีการใช้ การช่วยรักษาพลังงานไว้ให้ได้ใช้อย่างเพียงพอ  ได้จัดทำขึ้นเพื่อ ให้เพื่อนๆพี่ๆและน้องๆได้นำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา ทั้งในระดับชั้นเรียนและนอกห้องเรียน ให้ได้รู้จักใช้พลังงานอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น
         หวังว่าเว็บนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้อ่านไม่มากก็น้อย
        *หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วย




นายปิยะวัตร       มาศจด
เลขที่ 19     ชั้นม.6/2

ปกวิกฤตการณ์พลังงาน

วิกฤตการณ์พลังงาน





จัดทำโดย


นายปิยะวัตร           มาศจด

   
       เลขที่  19           ชั้น ม.6/2

เสนอ

อาจารย์ศุภสันห์           แก้วสำราญ
         
         ภาคเรียนที่ 1            ปีการศึกษา 2557
            
  โรงเรียนเมืองกระบี่